วิสัยทัศน์
" มุ่งสู่เกษตรกรรมก้าวหน้า ประชาชนอยู่ดี สืบสานประเพณี และส่งเสริมการศึกษา "
1.ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก เพื่อให้วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอกที่วางไว้บรรลุตามเป้าประสงค์การพัฒนาจากการประชุมประชาคมหมู่บ้านและประชุมประชาคมตำบล จึงได้ทำการวิเคราะห์วิสัยทัศน์และประเมินศักยภาพการพัฒนา ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาและแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก ตามลำดับความสำคัญของท้องถิ่นไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต สังคม ครอบครัวอยู่ดีมีสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านส่งเสริมการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีประสิทธิภาพ
2.เป้าประสงค์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก
1. เพื่อให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการได้มาตรฐาน
2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ส่งเสริมด้านการกีฬา ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชน ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์อย่างทั่วถึง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และประชาชนมีความปลอดภัยจากสารเคมี
4. เพื่อส่งเสริมและยกระดับการศึกษา และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่ประชาชนและบำรุงรักษาศาสนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญาอันดีงามของท้องถิ่น
5. เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
6. เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนและพัฒนาท้องถิ่น
3. ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลที่สำคัญ จึงได้ทำการวิเคราะห์วิสัยทัศน์และประเมินศักยภาพการพัฒนาองค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านกอก เพื่อบรรลุตามเป้าประสงค์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอกที่ได้วางไว้ จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าประสงค์หลัก ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์แนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าประสงค์ เพื่อให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการได้มาตรฐาน กลยุทธ์ ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐานและพอเพียงต่อความต้องการของประชาชน
ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย
- มีเส้นทางที่เป็นมาตรฐาน และมีการปรับปรุงและบำรุงรักษาเส้นทางเพิ่มขึ้น
- มีการพัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการเพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต สังคม ครอบครัวอยู่ดีมีสุข
เป้าประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ส่งเสริมด้านการกีฬา ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชน ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขและ สังคมสงเคราะห์อย่างทั่วถึง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี กลยุทธ์ ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่งเสริมด้านการกีฬา ด้านสาธารณสุข สุขภาพอนามัย และป้องกันโรคติดต่อ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย
- กิจกรรมส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันเพิ่มขึ้น
- คดียาเสพติดและอาชญากรรมในพื้นที่ลดลง
- ประชาชนร่วมกิจกรรมด้านกีฬา เพี่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ลดปัญหายาเสพติด และมีความสามัคคีในชุมชน
- ประชาชนที่ได้รับบริการด้านสาธารณสุขครบถ้วนและทั่วถึง
- กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพและการป้องกันโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น
- เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ยากไร้ด้อยโอกาสและประชาชนภายในตำบล ได้รับการช่วยเหลือและดูแลเพิ่มขึ้นอย่างทั่วถึง
- กลุ่มอาชีพที่มีการส่งเสริมและสนับสนุน สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น
- รายได้ของครัวเรือนที่ได้ส่งเสริมฝึกอบรมอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และศักยภาพด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และประชาชน มีความปลอดภัยจากสารเคมี กลยุทธ์ ส่งเสริมการเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและปลอดภัยจากสารเคมี และพัฒนานวัตกรรม
ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย
- ร้อยละเกษตรกรต้นทุนการผลิตต่ำลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง
- ร้อยละเกษตรกรใช้สารเคมีในการทำการเกษตรกรรมลงลด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและยกระดับการศึกษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่ประชาชนและบำรุงรักษาศาสนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญาอันดีงามของท้องถิ่น กลยุทธ์ ส่งเสริมการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย และบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)
ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย
- ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานครบถ้วน และเพิ่มขึ้น - สถาบันการศึกษาได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น
- ประเพณีและวัฒนธรรมได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้สืบสานประเพณีอันดีงามต่อไป และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย
- ร้อยละประชาชนที่มีความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
- มีพื้นที่ป่าชุมชนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ดีมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนและพัฒนาท้องถิ่น กลยุทธ์ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีและการบริการประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย
- ประชาชนได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึงเพิ่มขึ้น
- ความพึงพอใจประสิทธิภาพในการบริหารงานและให้บริการประชาชนเพิ่มขึ้น
- ประชาชนให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการบริหารงานของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก
1.เป็นตำบลเกษตรกรรมก้าวหน้าและยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
2.เป็นตำบลสถาบันครอบครัวเข้มแข็งและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.เป็นตำบลมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ |